ทางเลือกในการลงทุน ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝาก
หุ้นกู้ คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน (หุ้นกู้เอกชน) เพื่อระดมทุนไปใช้ในการดำเนินงานหรือลงทุน ผู้ซื้อตราสารหนี้จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” และบริษัทที่ออกหุ้นกู้จะมีสถานะเป็น “ลูกหนี้” ผู้ออกหุ้นกู้ให้คำสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ตลอดช่วงอายุของหุ้นกู้ และจ่ายคืนเงินต้นให้ ณ วันครบกำหนดอายุหุ้นกู้
เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุน “หุ้นกู้เอกชน”
เหมาะกับใคร
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคงและผลตอบแทนที่แน่นอน
- นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอ
- นักลงทุนทั่วไปที่มีระยะเวลาลงทุนที่แน่นอน
- นักลงทุนที่สามารถรอผลตอบแทนได้ตามกำหนดระยะเวลา
เริ่มต้นลงทุน
- จำนวนเงินขั้นต่ำในการลงทุนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนด (กรุณาตรวจสอบเงื่อนไขผลิตภัณฑ์แต่ละตัว)
ความเสี่ยงจากการลงทุน หุ้นกู้
- ความเสี่ยงต่ำ - สูง
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
- ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย
- ความเสี่ยงด้านเครดิต
ทำไมต้องเลือกซื้อ “หุ้นกู้” กับเมย์แบงก์
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนยาวนานกว่า 30 ปี
- มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการ
- มีบริษัทแม่ที่แข็งแกร่งในอาเซียน
-
สร้างความมั่นใจในการลงทุนด้วยหุ้นกู้ที่มีการค้ำประกันและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ลงทุน “หุ้นกู้เอกชน” ดียังไง
ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากและพันธบัตรรัฐบาล
สามารถออมเงินระยะยาวได้อย่างสม่ำเสมอ
ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
ซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง
เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น
พร้อมกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนของคุณ
หุ้นกู้เป็นการลงทุนที่ให้รายได้สม่ำเสมอ
และมีความเสี่ยงต่ำ
รู้จักหุ้นกู้แต่ละประเภท
การเลือกลงทุนในหุ้นกู้
เลือกจากอันดับความน่าเชื่อถือ
- การเลือกลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงจะช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ เช่น ระดับ AAA เป็นกลุ่มตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำสุด ในประเทศไทยมีสถาบันจัดอันดับที่ผ่านการรับรองอยู่ 2 แห่ง คือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
- ข้อดี:
- ลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
- เพิ่มความมั่นใจในการลงทุน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคง
- ข้อเสีย:
- อัตราดอกเบี้ยอาจต่ำกว่าหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า
เลือกจากผลตอบแทน
- การเลือกหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้มากกว่า แต่ควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย
- ข้อดี:
- โอกาสได้รับผลตอบแทนสูง
- เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน
- ข้อเสีย:
- ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น
- ต้องมีการวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานของผู้ออกหุ้นกู้อย่างสม่ำเสมอ
เลือกจากอายุของหุ้นกู้
- การเลือกลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอายุการลงทุนสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความต้องการและนโยบายการลงทุนของแต่ละบุคคล
- ข้อดีของหุ้นกู้ระยะสั้น:
- สภาพคล่องสูงกว่า
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรับเงินต้นคืนเร็ว
- ข้อเสียของหุ้นกู้ระยะสั้น:
- ผลตอบแทนต่ำกว่าหุ้นกู้ระยะยาว
- ข้อดีของหุ้นกู้ระยะยาว:
- ผลตอบแทนสูงกว่า
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
- ข้อเสียของหุ้นกู้ระยะยาว:
- สภาพคล่องต่ำกว่า
- ความเสี่ยงสำหรับการลงทุนสูงขึ้น เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านเครดิต
เลือกจากบริษัทผู้ออกหุ้นกู้
- การเลือกหุ้นกู้จากบริษัทที่มีชื่อเสียงและฐานะการเงินมั่นคง (“ตราสารหนี้ระดับลงทุน”) สามารถเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนได้
- ข้อดี:
- ลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้
- เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาว
- ข้อเสีย:
- อาจให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าหุ้นกู้ของบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง
ประเภทของหุ้นกู้
ในปัจจุบัน บริษัทผู้ออกหุ้นกู้สามารถออกหุ้นกู้หลายรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ในการบริหารการเงิน เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้สนใจหุ้นกู้ของบริษัท และเพื่อบริหารต้นทุนทางการเงินของบริษัท โดยหุ้นกู้แต่ละประเภทจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หรือมีการชำระบัญชีเพื่อการเลิกบริษัท ตามรายละเอียดด้านล่าง
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
-
ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสารเท่าเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ และสูงกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและผู้ถือหุ้นสามัญตามลำดับ
- ข้อดี:
- มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคงในการลงทุน
- ให้ผลตอบแทนที่แน่นอนและสม่ำเสมอ
- ข้อเสีย:
- ได้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสารในอันดับที่ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญรายอื่น แต่จะสูงกว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเป็นอันดับสุดท้าย
- ข้อดี:
- ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
- เพิ่มความหลากหลายในการกระจายพอร์ตการลงทุน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรับความเสี่ยงสูงเพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น
- ข้อเสีย:
- ได้รับชำระหนี้เงินต้นหลังจากเจ้าหนี้สามัญรายอื่น
- ผู้ออกหุ้นกู้สามารถเลื่อนการชำระดอกเบี้ยได้ โดยไม่ถือเป็นเหตุผิดนัด
หุ้นกู้แปลงสภาพ
ตราสารหนี้ที่นักลงทุนสามารถเปลี่ยนจากหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกได้ตามราคาที่กำหนด โดยบริษัทผู้ออกจะออกหุ้นสามัญในจำนวนที่มีมูลค่าเท่ากับตราสารหนี้ที่ถืออยู่ นักลงทุนสามารถเปลี่ยนสถานะจากเจ้าหนี้เป็นเจ้าของ และมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างราคาซื้อและราคาขาย (Capital Gain) หากราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่หากราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่าราคาที่กำหนด นักลงทุนสามารถเลือกที่จะไม่แปลงสภาพเป็นหุ้น และถือเป็นตราสารหนี้ต่อไปเพื่อรับดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้และรับเงินต้นคืนที่ราคาพาร์ ณ วันหมดอายุ
- ข้อดี:
- มีโอกาสในการได้รับกำไรจากการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
- ได้รับดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ กรณีไม่แปลงสภาพ
- เพิ่มโอกาสในการกระจายพอร์ตการลงทุน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองหาการเติบโตของการลงทุนและรายได้ประจำ
- ข้อเสีย:
- มีโอกาสได้รับชำระหนี้เงินต้นหลังจากเจ้าหนี้สามัญรายอื่น
หุ้นกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
หุ้นกู้ที่มีการนำสินทรัพย์มาค้ำประกันการออกหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสิทธิในสินทรัพย์ที่วางเป็นประกันนั้นเหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ ขณะที่หุ้นกู้ที่มีการค้ำประกัน จะมีผู้ค้ำประกันชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชำระ โดยทั่วไป มักจะมีการตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (Bond Holder Representative) เพื่อทำการตรวจสอบสถานะของสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน หรือติดตามสถานะและความมั่นคงของผู้ค้ำประกัน
- ข้อดี:
- มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
- มีการค้ำประกันสินทรัพย์เพื่อเพิ่มความมั่นคง
- ดอกเบี้ยที่ได้รับมีความแน่นอน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความปลอดภัยในการลงทุน
- ข้อเสีย:
- มีโอกาสที่หลักประกันอาจไม่เพียงพอชำระหนี้เงินต้นทั้งจำนวน
- ได้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ประโยชน์จากการลงทุนในหุ้นกู้
ประโยชน์จากการลงทุนในหุ้นกู้
- เป็นแหล่งรายได้ประจำ: หุ้นกู้จะจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ให้แก่นักลงทุน และจะจ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำ และต้องการให้เงินต้นของการลงทุนนั้นยังอยู่ครบ
- ได้รับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงิน: หุ้นกู้ของบริษัทเอกชนมักจะเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีลักษณะและอายุการลงทุนใกล้เคียงกัน ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนี้เป็นการชดเชยให้กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
- สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้: ข้อดีของการซื้อหุ้นกู้อีกข้อหนึ่ง คือ สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรอง
เอกสารที่ต้องเตรียม
คำถามหรือข้อสงสัย
เอกสารที่ต้องเตรียม
บัตรประชาชนฉบับจริง
เลขบัญชีธนาคาร สำหรับรับเงินปันผล
คำถามหรือข้อสงสัย
หุ้นกู้คืออะไร
การลงทุนในหุ้นกู้มีความเสี่ยงอย่างไร
ความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นกู้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งมีความเสี่ยงตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง นักลงทุนควรตรวจสอบอันดับความน่าเชื่อถือก่อนตัดสินใจลงทุน
จะเริ่มต้นลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างไร
หุ้นกู้มีผลตอบแทนอย่างไร
ทำไมต้องเลือกลงทุนในหุ้นกู้ผ่านเมย์แบงก์
วิธีเพิ่มโอกาสทำกำไร
1. เลือกจากอันดับความน่าเชื่อถือ
การเลือกลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงจะช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ เช่น ระดับ AAA เป็นกลุ่มตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำสุด ในประเทศไทยมีสถาบันจัดอันดับที่ผ่านการรับรองอยู่ 2 แห่ง คือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ข้อดี:
- ลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
- เพิ่มความมั่นใจในการลงทุน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคง
ข้อเสีย:
- อัตราดอกเบี้ยอาจต่ำกว่าหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า
2. เลือกจากผลตอบแทน
การเลือกหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสามารถเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้ แต่ต้องพิจารณาความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย
ข้อดี:
- โอกาสได้รับผลตอบแทนสูง
- เพิ่มกำไรจากการลงทุน
ข้อเสีย:
- ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น
- ต้องมีการวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานของผู้ออกหุ้นกู้
3. เลือกจากอายุของหุ้นกู้
การเลือกลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอายุการลงทุนสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความต้องการและการบริหารความเสี่ยง
ข้อดีของหุ้นกู้ระยะสั้น:
- สภาพคล่องสูงกว่า
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการคืนเงินต้นเร็ว
ข้อเสียของหุ้นกู้ระยะสั้น:
- ผลตอบแทนต่ำกว่าหุ้นกู้ระยะยาว
ข้อดีของหุ้นกู้ระยะยาว:
- ผลตอบแทนสูงกว่า
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
ข้อเสียของหุ้นกู้ระยะยาว:
- สภาพคล่องต่ำกว่า
- ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
4. เลือกจากบริษัทผู้ออกหุ้นกู้
การเลือกหุ้นกู้จากบริษัทที่มีชื่อเสียงและฐานะการเงินมั่นคงสามารถเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนได้
ข้อดี:
- ลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้
- เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาว
ข้อเสีย:
- อาจให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง
ความเสี่ยงจากการลงทุนหุ้นกู้
- ความเสี่ยงต่ำ – สูง
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง: หากเลือกลงทุนในหุ้นกู้ระยะยาวโดยปราศจากการวางแผน อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ต้องการใช้เงินก่อนครบกำหนดอายุการลงทุน จนต้องนำไปขายที่ตลาดรอง และอาจส่งผลให้ต้องขายขาดทุนหรือไม่ได้รับเงินตามที่ควรจะได้ถ้าถือต่อจนครบอายุหุ้นกู้
- ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย: อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงสามารถส่งผลต่อการลงทุนในหุ้นกู้ เช่น หากอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น ราคาหุ้นกู้อาจลดลง
- ความเสี่ยงด้านเครดิต: โอกาสที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ส่งผลให้นักลงทุนอาจไม่ได้รับดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้หรือสูญเสียเงินต้นทั้งหมด
ที่มา: www.set.or.th
ประโยชน์จากการลงทุนในหุ้นกู้
- เป็นแหล่งรายได้ประจำ: หุ้นกู้และตราสารหนี้จะจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ให้แก่ผู้ลงทุน และจะจ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำ และต้องการให้เงินต้นของการลงทุนนั้นยังอยู่ครบ
- ได้รับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงิน: หุ้นกู้ของบริษัทเอกชนมักจะเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีลักษณะและอายุการลงทุนใกล้เคียงกัน ดอกเบี้ยส่วนที่สูงขึ้นนี้เป็นการชดเชยให้กับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น
- สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้: ข้อดีของการซื้อหุ้นกู้อีกข้อหนึ่ง คือ สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรอง
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
E-mail Customer Service
mst.clientservice@maybank.comCall Customer Service
026585050Line Customer Service
@maybankfriends